การประกวดกิจกรรมรณรงค์เสริมสร้างค่านิยมแห่งความซื่อสัตย์สุจริต
รายละเอียด
รางวัล
รายละเอียด
หลักเกณฑ์การประกวด
ผู้เข้าประกวด ผู้เข้าประกวด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
– สถาบันการศึกษา โดยไม่มีการแบ่งระดับ
– เครือข่ายเด็กและเยาวชนอื่น ๆ
กิจกรรมรณรงค์ต้องประกอบ ด้วยรายละเอียดดังนี้
น้อมนำพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้พระราชทานไว้เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2496 ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ความว่า
“ … ข้าพเจ้าขอให้ท่านทั้งหลายจงมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต ถือเอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้งเพราะคุณธรรมอันนี้เป็นมูลฐานอันสำคัญที่จะยังความเจริญ และความเป็นปึกแผ่นแก่สังคม เป็นบ่อเกิดแห่งความสามัคคี กลมเกลียว ความซื่อสัตย์ที่ว่านี้หมายถึง ความสุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่การงาน ต่อตนเอง และต่อผู้อื่นที่
เกี่ยวข้อง มีเจตนาบริสุทธิ์ ไม่เอารัดเอาเปรียบ สำหรับท่านที่ใช้วิชากฎหมาย ย่อมกินความถึงการรักษาความ เป็นธรรม ไม่บิดเบือนความหมายของตัวบทกฎหมาย เพื่อประโยชน์ของตนเอง ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตจะเป็นเสมือนหนึ่งเกราะคุ้มภัยแก่ท่านตลอดไป ดังบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ว่า สุจริตคือเกราะบัง สาตรพ้อง …”
มาเป็นแนวทางกำหนดความหมายของ “ความซื่อสัตย์สุจริต” และการจัดกิจกรรมรณรงค์เสริมสร้างค่านิยมแห่งความซื่อสัตย์สุจริต
นำแนวทางในโครงการ “ลมหายใจไร้มลทิน” “จะคิด ทำ สอน อย่างไร เพื่อเสริมสร้างค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริต” มาช่วยสร้างสรรค์กิจกรรมให้มีความหลากหลาย และเป็นรูปธรรม เพื่อช่วยรณรงค์เสริมสร้างค่านิยมแห่งความซื่อสัตย์สุจริตในหมู่เยาวชน ในโรงเรียน สถาบัน หรือหน่วยงาน
นำบทเพลง และความหมายของเนื้อเพลง “ลมหายใจไร้มลทิน” ไปใช้เป็นประโยชน์ ในการรณรงค์โดยเน้นให้เยาวชนเข้าใจในสาระของเพลง และนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติในชีวิตประจำวันอย่างกว้างขวาง เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องในองค์กร หากมีหลายกิจกรรม แต่ละกิจกรรมต้องเกื้อหนุนการเสริมสร้างค่านิยมแห่งความซื่อสัตย์สุจริตไปในทิศทางเดียวกัน
ดำเนินกิจกรรมตามแนวทาง “เศรษฐกิจพอเพียง” ไม่เป็นภาระกับผู้ใดรวมถึงตนเอง สามารถแสดงให้เห็นได้ชัดว่าการเสริมสร้างค่านิยมแห่งความซื่อสัตย์สุจริตในหมู่เยาวชน เป็นกิจกรรมกล่อมเกลาจิตใจและสร้างนิสัยที่ดี ไม่ใช่การสร้างวัตถุ อาศัยการอบรมสั่งสอน การทำความเข้าใจ การปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง
เด็ก / เยาวชน / ครู-อาจารย์ / ผู้บริหารสถานศึกษา / ผู้นำชุมชน / ประชาชน และเครือข่ายต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม สามารถนำสู่การปฏิบัติในหมู่เยาวชนอย่างเป็นรูปธรรม
มีการติดตามประเมินผล และปรับปรุงกิจกรรมให้สามารถเห็นผล อย่างเป็นรูปธรรม
การจัดทำรายงาน ผลการดำเนินงาน
จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน / กิจกรรม นำเสนอคณะกรรมการของสถาบัน / หน่วยงาน โดยมีคณะกรรมการที่รับผิดชอบโครงการ และผู้บริหารสูงสุดของสถาบัน / หน่วยงานนั้นๆ เป็นผู้รับรองความถูกต้องของรายงานก่อนส่งรายงานให้แก่คณะกรรมการตัดสิน
เกณฑ์การให้คะแนน
การจัดกิจกรรมถูกต้องตามกติกาตามเงื่อนไขข้างต้น 40 คะแนน
แนวคิดสร้างสรรค์ในการจัดกิจกรรม 30 คะแนน
คุณภาพของการเสริมสร้างค่านิยมแห่งความซื่อสัตย์สุจริต 30 คะแนน
ในผู้เข้าร่วมกิจกรรม / ผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรม
รวม 100 คะแนน
ส่งผลงาน
ผู้เข้าประกวดต้องสรุปรายงาน กิจกรรม และ/หรือ วีดีทัศน์/ภาพนิ่งของกิจกรรม ส่งไปยังคณะกรรมการตัดสิน ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2553
โดยถือวันที่ลงรับเอกสารหรือตราประทับไปรษณีย์ต้นทางเป็นสำคัญ
คณะกรรมการ
คณะกรรมการสงวนสิทธิ์ที่จะเข้าชมการจัดกิจกรรมรณรงค์ ณ สถาบันการศึกษา ที่เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ เสริมสร้างค่านิยมแห่งความซื่อสัตย์สุจริต ในขณะที่จัดกิจกรรมอยู่
ผลการตัดสิน
ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
** การประกวดกิจกรรมรณรงค์เสริมสร้างค่านิยมแห่งความซื่อสัตย์สุจริต โรงเรียน / สถาบันการศึกษา / วิทยาลัย / มหาวิทยาลัย ทุกแห่งที่เข้าร่วมประกวด แต่ไม่ได้รับรางวัล จะได้รับเกียรติบัตรของโครงการ “ลมหายใจไร้มลทิน” จาก ฯพณฯ พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี และสำนักงานส่งเสริม
สวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท.) ร่วมกับ บริษัท สื่อสากล จำกัด
รางวัล
รางวัลในการประกวด
รางวัลที่ 1 ทุนการศึกษา 30,000 บาท
รางวัลที่ 2 ทุนการศึกษา 15,000 บาท
รางวัลที่ 3 ทุนการศึกษา 10,000 บาท
รางวัลชมเชย 2 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาท
** การประกวดกิจกรรมรณรงค์เสริมสร้างค่านิยมแห่งความซื่อสัตย์สุจริต โรงเรียน / สถาบันการศึกษา / วิทยาลัย / มหาวิทยาลัย ทุกแห่งที่เข้าร่วมประกวด แต่ไม่ได้รับรางวัล จะได้รับเกียรติบัตรของโครงการ “ลมหายใจไร้มลทิน” จาก ฯพณฯ พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี และสำนักงานส่งเสริม
สวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท.) ร่วมกับ บริษัท สื่อสากล จำกัด